การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด  Socioscietific

 

การสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด  Socioscietific

Socioscientific  Issuesประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์

วัตถุประสงค์ของการประยุกต์ใช้ประเด็นทางสังคม ที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์

กลับหน้าหลัก

ผู้สนับสนุน

 

 


 

          ประสาท  เนืองเฉลิม  (2551 : 100)ได้สรุปการเรียนการสอนตามแนวคิด Socioscientific ดังนี้
การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ดีย่อมส่งผลต่อการเตรียมพลเมืองที่ดีและมีประสิทธิภาพของสังคมปัจจุบันและอนาคต  สามารถคิดเป็นเหตุเป็นผลบนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือ  วิพากษ์วิจารณ์และขานรับความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สามารถแก้ไขปัญหาและตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและพิสูจน์ได้  การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์  ในสภาพปัจจุบันจำเป็นต้อปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้และสภาพของการรับรู้วิทยาศาสตร์  ทั้งนี้รวมไปถึงความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และแนวคิดวิทยาศาสตร์กับสังคม (Driver, Newton, & Osborne. 2000 ;   Kolsto.  2001)  ประเด็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสังคม (Socioscientific Issue)  เป็นแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนได้รู้วิทยาศาสตร์จากสถานการณ์ในชีวิตจริง ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ขั้นสูง  และรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เช่น  ทักษะการคิดขั้นสูง  ทักษะการตัดสินใจ  การอภิปรายอย่างเป็นเหตุเป็นผลด้วยวิทยาศาสตร์ประเมินคุณค่าและความน่าเชื่อถือของข้อมูลความเข้าใจในธรรมชาติ (Sadler & Zeidler.   2003)
          

          ประสาท  เนืองเฉลิม (2551 : 100  อ้างถึง Solomon.  1993) กล่าวถึง การบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมนั้น  นักเรียนต้องได้รับทั้งความรู้วิทยาศาสตร์  การคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ และการตัดสินใจบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมในทุกระดับเพื่อสร้างสังคมอนาคตที่ดี  ยกระดับการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (meaningful  Learning) ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยการใช้ประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมและการมีส่วนร่วมสร้างและให้ข้อมูล  การรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้ตัดสินใจโดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จึงต้องมุ่งเน้นให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการรับรู้และตัดสินใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องกันระหว่างวิทยาศาสตร์กับสังคม  การจัดการเรียนวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นประเด็นประสบการณ์ส่วนบุคคล (personal experiences) หรือการให้คุณค่า(Values) ของวิทยาศาสตร์ต่อสังคม (Fensham.   2002) อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์(Scientific Knowledge) มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสังคม ( Kortland.  2001 ; Ratcliffe.  1997 ; Solomon.  1988) สิ่งที่เราเห็นและคิดว่าเหมาะสมในปัจจุบันอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมในอนาคตก็ได้ หรือแม้แต่สิ่งที่เราเห็นและพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เหมาะสมไม่ก่อให้เกิดคุณค่าใดในวันนี้ แต่อาจจะเป็นสิ่งที่ดีมีความเหมาะสมกับอนาคตก็ได้เช่นกัน

           Zeidler and  orther (2005) ได้นำเสนอแนวคิดว่าประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ควรมีบทบาทสำคัญและเข้ามาแทนที่แนวคิด STS  ทั้งนี้เนื่องจาก STS มุ่งประเด็นความสนใจในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในสังคม  ซึ่งทำให้ละเลยต่อความเข้าใจอย่างลึกซึ้งของการนำวิทยาศาสตร์มาใช้   เพิกเฉยต่อความตระหนักในคุณธรรม  จริยธรรม  ความขัดแย้งทางความคิดในการนำวิทยาศาสตร์มาสู่การเรียนการสอน  ซึ่งความรู้วิทยาศาสตร์ล้วนมีความสัมพันธ์กับเหตุผลเชิงจริยธรรม  ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์  ความรู้สึก  การพัฒนา และวัฒนธรรมของมนุษย์  

          ประสาท  เนืองเฉลิม (2551  :  101)  ได้สรุปการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิด Socioscientific แบ่งเป็น  3 ส่วน คือ กระบวนการ(Processes) ความรู้( Knowledge)และเจตคติ(Attiudes) (Jenkins.  1990 71 (256  )   :  43-51)  ผู้รู้วิทยาศาสตร์สามารถนำความรู้  แนวคิด  หลักการ  กฎ  และทฤษฎีที่มีไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับโลกรอบตัวได้เป็นอย่างดี (Rubba and Andersen.  1978  :  450) การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าใจและเกิดการรู้วิทยาศาสตร์ จำเป็นที่จะต้องให้เขาเหล่านั้นมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์  พร้อมที่จะแก้ปัญหาและดำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างปกติสุขโดยอาศัยวิทยาศาสตร์เป็นฐานประกอบการตัดสินใจ (Driver and others. 2000  ;   Kolsto.2001  ;   Patronis and others.  1999)

 

 

เอกสารอ้างอิง

ประสาท เนืองเฉลิม.  (2551). “การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด  Socioscientific,”  วารสาร       ศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.  2(3)  : 99-105 ;  กรกาคม-กันยายน.

Zeidler, D. L., Sadler, T. D., Simmons, M. L., & Howes, E. V. (2005).  Beyond STS : A research-
based framework for socioscientific issues education. Science Education, 89, 357-377.